ขอแนะนำสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานเด่น ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกัน ขอบอกก่อนว่า บุคคลที่เรากล่าวถึงนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ไทยเท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วยังมีคนไทยเก่ง ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว ซึ่งคงไม่สามารถกล่าวได้หมด ณ ที่นี้อย่างแน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากสนพระทัยเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ โดยเฉพาะดาราศาสตร์เป็นพิเศษโดยพระองค์ทรงคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิมและยังทรงคำนวณการเกิดปรากฎการณ์สุริยปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้ล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ
และในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำ ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse"
ศ.นพ.ประเวศ วะสี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ปรมาจารย์แห่งวงการแพทย์
ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่ได้รับการยกย่องในฐานะ"ราษฎรอาวุโส" โดยหลังจากจบการศึกษาแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งได้รับเหรียญทองในฐานะที่ทำคะแนนได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดหลักสูตรแล้ว ศ.นพ.ประเวศ ก็ได้รับทุนมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาด้านการแพทย์ต่อที่สหรัฐอเมริกา และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ศ.นพ.ประเวศ ก็ได้เข้าศึกษาต่อด้านมนุษยพันธุศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทำให้ท่านเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์
ทั้งนี้ ผลงานเด่นของ ศ.นพ.ประเวศ ก็คือ การค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย โดยพบว่ามียีนส์แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 2 ชนิด และได้ให้ชื่อว่า แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 และ แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 2 ซึ่งก็ทำให้ท่านได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ.2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์) รวมทั้งยังได้รับรางวัลอีกมากมาย เช่น รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ และยังได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อปี พ.ศ.2531 อีกด้วย
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องคลื่นไมโครเวฟ จากนั้น ดร.อาจอง ก็ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ที่ Imperial College of Science and Technology London University ด้วยความสามารถของ ดร.อาจอง ทำให้เขาสามารถสร้างชื่อเสียงไปในระดับโลก โดยได้เข้าร่วมออกแบบชิ้นส่วนขาและชิ้นส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศให้กับบริษัท Martin Marietta ซึ่งองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาว่าจ้างให้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในยานอวกาศไวกิ้ง 2 ลำส่งไปลงบนดาวอังคาร
หลังจากทำงานในต่างประเทศได้สักพัก ดร.อาจอง ก็ได้เดินทางกลับมาทำงานด้านวิศวกรรมในประเทศไทย และได้สร้างผลงานไว้มากมาย จนได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เมื่อ พ.ศ. 2527 นอกจากนี้ ดร.อาจอง ยังเป็นผู้ที่สนใจด้านธรรมะ นำไปสู่การสร้างโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อขัดเกลาจิตใจเยาวชนของชาติอีกด้วย
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องคลื่นไมโครเวฟ จากนั้น ดร.อาจอง ก็ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์ที่ Imperial College of Science and Technology London University ด้วยความสามารถของ ดร.อาจอง ทำให้เขาสามารถสร้างชื่อเสียงไปในระดับโลก โดยได้เข้าร่วมออกแบบชิ้นส่วนขาและชิ้นส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศให้กับบริษัท Martin Marietta ซึ่งองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาว่าจ้างให้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในยานอวกาศไวกิ้ง 2 ลำส่งไปลงบนดาวอังคาร
หลังจากทำงานในต่างประเทศได้สักพัก ดร.อาจอง ก็ได้เดินทางกลับมาทำงานด้านวิศวกรรมในประเทศไทย และได้สร้างผลงานไว้มากมาย จนได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เมื่อ พ.ศ. 2527 นอกจากนี้ ดร.อาจอง ยังเป็นผู้ที่สนใจด้านธรรมะ นำไปสู่การสร้างโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อขัดเกลาจิตใจเยาวชนของชาติอีกด้วย
ศ.ดร.ระวี ภาวิไล
ศาสตราจารย์ ดร.ระวี ภาวิไล
ท่านเป็นนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย โดยท่านจบวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปต่อปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอเดอเลด ประเทศออสเตรเลีย และศึกษาปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย จนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์
สำหรับผลงานเด่น ๆ ด้านดาราศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาโครงสร้างของโครโมสเฟียร์ ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโครโมสเฟรียร์ของดวงอาทิตย์ รวมทั้งเรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นต้น แต่บุคคลทั่วไปจะรู้จักท่านในช่วงปี พ.ศ.2529 ที่ดาวหางฮัลเลย์เดินทางมาเยือนเมืองไทย รวมทั้งช่วงที่มีข่าวฝนดาวตก ซึ่งนับได้ว่า ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นผู้มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยสนใจเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น
ท่านเป็นนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย โดยท่านจบวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะไปต่อปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอเดอเลด ประเทศออสเตรเลีย และศึกษาปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย จนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์
สำหรับผลงานเด่น ๆ ด้านดาราศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาโครงสร้างของโครโมสเฟียร์ ดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างอาณาจักรบริเวณกัมมันต์บนดวงอาทิตย์ เรื่องโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของบรรยากาศระดับโครโมสเฟรียร์ของดวงอาทิตย์ รวมทั้งเรื่องบรรยากาศของดวงอาทิตย์ เป็นต้น แต่บุคคลทั่วไปจะรู้จักท่านในช่วงปี พ.ศ.2529 ที่ดาวหางฮัลเลย์เดินทางมาเยือนเมืองไทย รวมทั้งช่วงที่มีข่าวฝนดาวตก ซึ่งนับได้ว่า ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นผู้มีส่วนที่ทำให้สังคมไทยสนใจเรื่องดาราศาสตร์มากขึ้น
ด้วยความที่ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน จบการศึกษาด้านฟิสิกส์จากอิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนจะศึกษาต่อปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านฟิสิกส์ของแข็งภาคทฤษฎี จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ สหรัฐอเมริกา ทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์เป็นอย่างยิ่ง และมีผลงานด้านการสร้างทฤษฎีอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด รวมทั้งผลงานด้านวิชาการอีกมากมาย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติถึง 37 เรื่อง
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ยังได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี และได้รับทุนวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ยังได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี และได้รับทุนวิจัยอื่น ๆ อีกมากมาย
ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต
ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต
ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย ประจำปี พ.ศ. 2525 สาขาฟิสิกส์ โดยเป็นผู้บุกเบิกในการนำทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) แบบฟายน์แมน (Feynmen) มาประยุกต์กับเรื่องของฟิสิกส์ของสภาวะของแข็ง (Condensed Matter Physics) และได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี จนสามารถสร้างผลงานนำทฤษฎีของฟายน์แมนมาประยุกต์กับปัญหา ของระบบที่ไร้ระเบียบ และนำเสนอทฤษฎีควอนตัมแบบฟายน์แมนประยุกต์กับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม และถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเป็นจำนวนมาก
ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์
เป็นที่ฮือฮาอย่างมากในช่วงปี พ.ศ.2538 เมื่อ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ZIDOVUDINE" (AZT)ซึ่งเป็นยาต้านเอดส์ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเป็นครั้งแรกของโลก และได้เดินทางไปถ่ายทอดการผลิตยาในหลายประเทศในทวีปแอฟริกานานนับหลายปี จนได้รับฉายาว่า "เภสัชกรยิปซี"
โดยกว่า 30 ปีที่ ดร.กฤษณา ได้ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกได้มีโอกาสใช้ยารักษาโรคเอดส์ ก็ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2008" จากนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์อีกทั้งยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA อีกด้วย
เป็นที่ฮือฮาอย่างมากในช่วงปี พ.ศ.2538 เมื่อ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ZIDOVUDINE" (AZT)ซึ่งเป็นยาต้านเอดส์ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเป็นครั้งแรกของโลก และได้เดินทางไปถ่ายทอดการผลิตยาในหลายประเทศในทวีปแอฟริกานานนับหลายปี จนได้รับฉายาว่า "เภสัชกรยิปซี"
โดยกว่า 30 ปีที่ ดร.กฤษณา ได้ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกได้มีโอกาสใช้ยารักษาโรคเอดส์ ก็ส่งผลให้ท่านได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2008" จากนิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์รวมทั้งรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จาก Letten Foundation ประเทศนอร์เวย์อีกทั้งยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA อีกด้วย
นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วมากมายจากทั่วโลกรวมทั้งรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544
ทั้งนี้ ทุกรางวัลที่ศาสตราจารย์ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ได้รับนั้น ล้วนมาจากความทุ่มเทวิจัยด้านการนำขบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ ๆ ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ และระบบต่าง ๆ ในทางชีววิทยาและการแพทย์ รวมไปถึงระบบทางนิเวศวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สร้างประโยชน์มากมายต่อวงการศึกษา การแพทย์ และการวิจัยของไทย
ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์
เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานสำคัญคือการวิจัยค้นพบสมุนไพรรักษามะเร็งเป็นคนแรกของโลก รวมทั้งงานวิจัยด้านสารออกฤทธฺ์ทางชีวภาพจากเชื้อราและงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์อีกหลายชิ้น ซึ่งงานวิจัยของท่านกว่า 118 เรื่องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล รวมกว่า 1,016 ครั้ง
เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529 และรางวัลนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานสำคัญคือการวิจัยค้นพบสมุนไพรรักษามะเร็งเป็นคนแรกของโลก รวมทั้งงานวิจัยด้านสารออกฤทธฺ์ทางชีวภาพจากเชื้อราและงานวิจัยด้านอินทรีย์เคมีสังเคราะห์อีกหลายชิ้น ซึ่งงานวิจัยของท่านกว่า 118 เรื่องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล รวมกว่า 1,016 ครั้ง
ศ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ
เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยผลงานด้านพยาธิวิทยา ที่ศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับอาจมาจากการที่สารก่อมะเร็งที่อยู่ในอาหาร ไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ ท่านยังมีผลงานศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ด้านอิมมิวโน พยาธิวิทยาของโรคไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ท่านยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมากมายแต่ที่รางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยมากที่สุด ก็คือ รางวัล Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์ของ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกนั่นเอง
เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วยผลงานด้านพยาธิวิทยา ที่ศึกษาพบว่า สาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับอาจมาจากการที่สารก่อมะเร็งที่อยู่ในอาหาร ไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ ท่านยังมีผลงานศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ด้านอิมมิวโน พยาธิวิทยาของโรคไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งก่อให้เกิดการประยุกต์รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ท่านยังได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณมากมายแต่ที่รางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยมากที่สุด ก็คือ รางวัล Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์ของ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกนั่นเอง
ศ.ดร.สง่า สรรพศรี
ศาสตราจารย์ ดร.สง่า สรรพศรี
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเป็นคนแรกของสาขาวิชาวนศาสตร์ของประเทศไทยที่ได้รับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ริเริ่มชักชวนอาจารย์หลายท่านหันมาร่วมกันทำงานด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ โดยทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลนับสิบปี จนมีผลงานการวิจัยเกี่ยวกับป่าไม้ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนในวิชาด้านสิ่งแวดล้อม
ด้วยความสามารถและความมุ่งมั่น ส่งผลให้ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรกที่เป็นที่ปรึกษาองค์การยูเนสโก
ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว
ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น จากนั้นก็ได้กลับมาทำงานสอนหนังสือที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีผลงานสำคัญ เช่น การสร้างห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำซึ่งเป็นห้องปฎิบัติการที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย รวมทั้งยังศึกษาวิจัยการประยุกต์นำพลังงานโซลาร์เซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และผลงานเซลล์แสงอาทิตย์นี้เองก็ทำให้ท่านได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2529 และได้รับเลือกให้เป็นนักวิจัยดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ.2540
ทั้งนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษางานวิจัยด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์
ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ
ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ
ท่านเป็นบิดาแห่งวิชาเคมีของไทยผู้ล่วงลับ โดย ศ.ดร.แถบ นีละนิธิ ได้ศึกษาด้านวิชาเคมีจนเชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา และกลับมารับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผลงานเด่นของท่านก็คือ การบุกเบิกจัดทำหลักสูตรปริญญาบัณฑิตทางเคมีเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและท่านก็เป็นผู้สอนนิสิตด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ ในระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เริ่มพัฒนาขยายหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์บัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของรัฐบาลในยุคนั้น เช่นเดียวกับการบุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ท่านเป็นศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งมีผลงานเรื่องการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก และยังได้ศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกันแบบครบวงจร
ด้วยผลงานการวิจัยต่าง ๆ ทำให้ท่านได้รับรางวัลมากมาย ทั้งรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2537 รวมถึงรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ท่านเป็นศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งมีผลงานเรื่องการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก และยังได้ศึกษาโรคสมองอักเสบทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะจากพิษสุนัขบ้า และสมองอักเสบจากภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกันแบบครบวงจร
ด้วยผลงานการวิจัยต่าง ๆ ทำให้ท่านได้รับรางวัลมากมาย ทั้งรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2537 รวมถึงรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2547 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น